รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
A Model of Educational Management Towards Excellence of Secondary Schools Under The Secondary Educational Service Area Office 27

Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 และ 2) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบ โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ โดยผู้ใช้รูปแบบ ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ประธานเครือข่ายผู้ปกครอง ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา และประธานนักเรียน โรงเรียนละ 1 คน รวม 240 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 มีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การบริหารองค์กร การจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 3. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก
Abstract: The aims of this research were to 1) study state of educational management towards excellence of secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 27, 2) develop a model of educational management towards excellence of secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 27, and 3) evaluate appropriateness and feasibility of the developed model. This research is a mixed method research: quantitative and qualitative approach that consists of 3 steps: 1) study state of educational management towards excellence of secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 27 by using a questionnaire and interviewing, 2) develop a model of educational management towards excellence of secondary schools using the data obtained from the first step for drafting a pattern, and evaluate suitability by 5 experts, and 3) evaluate appropriateness and feasibility of the developed a model by 240 persons consisted school administrators, head of subject area, schools board, and student presidents. The statistics for data analysis were mean, Standard Deviation, and content analysis. The research results reveal that 1. The state of educational management towards excellence of secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 27 was at a high level. 2. A model of educational management towards excellence of secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 27 has three main components: 1) organization management, 2) learning management, and 3) a development of learner’s quality. 3. The developed model of educational management towards excellence of secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 27 has appropriateness and feasibility at a high level.
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. สำนักหอสมุดและสารสนเทศ
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: library@northbkk.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Modified: 2563-03-08
Issued: 2563-03-08
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: วพ Ph.D. บ259ร 2562
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
RightsAccess:

ความคิดเห็น